PTG ผนึกมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ-กรมป่าไม้-ธ.ก.ส. ส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้า และพืชเศรษฐกิจยั่งยืน หนุนเกษตรกรมีชีวิตอยู่ดีมีสุข -ส่งตรง “กาแฟพันธุ์ไทย”
บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) ลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมป่าไม้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อดำเนินโครงการการ พัฒนาและส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าและพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ที่มีความเหมาะ สมทางสภาพแวดล้อมและชุมชนในประเทศไทยเพื่อร่วมสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งตรงร้าน “กาแฟพันธุ์ไทย”
นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมป่าไม้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ ป่าและส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าและพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาป่าเดิม เพิ่มป่าใหม่ เพื่อให้ ประเทศ ได้มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เกษตรกรมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ที่สำคัญยังได้กาแฟอราบิก้าคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด โดยจะนำเอาเมล็ดกาแฟที่มี คุณภาพและได้คุณสมบัติตามมาตรฐานส่งมอบให้กับพีทีจี เพื่อส่งต่อให้กับบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือพีทีจี) รวมถึงรับซื้อผลผลิตกาแฟอาราบิก้า หรือพืชเศรษฐกิจจากเกษตรกรตามคุณภาพ ปริมาณ และราคาอีกด้วย
ทั้งนี้บทบาทของพีทีจีในการลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือ พีทีจีร่วมส่งเสริมและสนับ สนุนองค์ความรู้ในการปลูก การแปรรูปกาแฟ หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ พร้อมทั้งรับซื้อผลผลิตกาแฟ หรือพืช เศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดในราคามาตรฐาน เป็นธรรมและยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุน องค์ความรู้ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนากระบวนการรับซื้อผลผลิต การคัดคุณภาพเมล็ด และการ ตรวจสอบย้อนกลับรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตกาแฟและพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ส่งเสริมเป้าหมายและร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายในบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวมถึงส่งเสริมด้านตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นตามความต้องการของลูกค้า และความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์และราคา
สำหรับความร่วมมือกับกรมป่าไม้ พีทีจีสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อดำเนินการจัดหา ปลูกกาแฟ และ ปลูกไม้ป่าในพื้นที่โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ที่กรมป่าไม้จัดเตรียมให้ เพื่อการปลูกและบำรุงรักษาป่า อย่างต่อเนื่องรวมระยะเวลา 3 ปี พร้อมทั้งพัฒนาระบบการผลิตกล้ากาแฟพันธุ์ดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการขยาย พันธุ์และดูแลกล้ากาแฟอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงร่วมกันพัฒนารูปแบบ การสร้างกระบวนการ ปลูกป่า อย่างมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการพัฒนาเพื่อ เพิ่มพื้นที่ ป่า ถาวรในชุมชน
นอกจากนี้ยังร่วมกันสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานปลูกและบำรุงรักษาป่าใน
ด้านผลกระทบเชิงสังคม (Social Impacts Assessment) ด้านการเจริญเติบโตและปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือน กระจกของต้นไม้และพื้นที่ป่า
ส่วนความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) พีทีจีสนับสนุนด้านการ
ตลาด การประชาสัมพันธ์และข้อมูลเพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชน รวมถึงจัด กิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่(CSR) และเผยแพร่ความรู้ และเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกกาแฟหรือพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกร พร้อมทั้งจัดหากล้าไม้ยืนต้น ต้นกล้ากาแฟบางส่วน และต้นกล้าของพืชเศรษฐกิจอื่นๆที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
ที่สำคัญนำเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และคุณสมบัติตามมาตรฐานเพื่อส่งมอบให้กับ พีทีจี ในนามบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือพีทีจี) พร้อมรับซื้อผลผลิตกาแฟอาราบิก้า หรือพืชเศรษฐกิจจาก เกษตรกรตามคุณภาพ ปริมาณ และราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือพีทีจี)
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ดำเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไข ปัญหาการปลูกพืชเสพติด ความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ผ่านการสร้างอาชีพทาง เลือกสุจริตต่างๆ โดยเฉพาะการปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตประชาชนด้านเศรษฐกิจและสังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวมประเมิน ความเหมาะสมของพื้นที่ และส่งเสริมการปลูกและแปรรูปกาแฟ และพืชเศรษฐกิจ
โดย พีทีจีได้ให้ความสำคัญกับการดูแลป่าพัฒนาชุมชน และส่งเสริมเกษตรกรท้องถิ่น และมีนโยบาย ในการเพิ่มพื้นที่ปลูกกาแฟหรือพืชเศรษฐกิจตามความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า และป่าเศรษฐกิจ ในพื้นที่เป้าหมาย อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต อีกทั้งมีความตั้งใจที่จะนำวัตถุดิบจากพื้นถิ่นไทยมาใช้ ในร้านค้าภายใต้การบริหารงานของพีทีจี เพื่อสนับสนุนการเกษตรอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าแต่ละฝ่ายต่างมีเป้าหมายการดำเนินงานในทิศทางเดียวกันและมีความ
ตั้งใจที่สอดคล้องต้องกันในการพัฒนาพื้นที่ โดยการส่งเสริมและฟื้นฟูพื้นที่เป้าหมาย ผ่านการดำเนินงานแบบ ผสมผสาน เช่น การปลูกป่า การปลูกกาแฟหรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และสนับสนุนการ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากงานพัฒนาทางเลือกและสนับสนุนชุมชน ตลอดจนร่วมพัฒนาการ ส่งเสริมและต่อ ยอดผลิตภัณฑ์จากชุมชนในพื้นที่เป้าหมายที่ได้ตกลงทำงานร่วมกัน ทุกฝ่ายจึงตกลงทำ บันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือกันในครั้งนี้
ด้าน นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึงบทบาทของกรมป่าไม้ ในความร่วมมือครั้งนี้ว่า กรมป่าไม้จะสนับสนุนพื้นที่โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริ จำนวน ไม่น้อยกว่า 50000 ไร่ เพื่อการปลูกและบำรุงรักษาป่า พร้อมทั้งสนับสนุนด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับ พีทีจี หน่วยงาน ชุมชน รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามความเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานเป็น ไปอย่างมี ประสิทธิ ภาพสูงสุด อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ประจำโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ รวมถึงเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำ การจัด หาพื้นที่โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ และการประสานงานกับชุมชนในพื้นที่
นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า หน้าที่ของ ธ.ก.ส. จะประเมินความพร้อม และศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตร กรในพื้นที่ ทั้งด้านความตั้งใจในการเข้าร่วมโครงการ รวมถึงความพร้อมทางด้านการเงิน รวมถึงสนับสนุน แหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้ตามแผน ทั้งนี้ภาย ใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของ ธ.ก.ส. และเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ธ.ก.ส. กำหนด นอกจากนี้ยังหาช่อง ทางในการพัฒนาสินค้าจากผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อเชื่อมโยง กับตลาดที่พีทีจีรองรับ